วิธีปลูกกล้วยน้ำว้าให้โคนหนาต้นอวบสมบูรณ์เครือใหญ่หวีดก

Share this...
Share on google
Google
Share on facebook
Facebook
Share on print
Print

วิธีปลูกกล้วยน้ำว้าให้โคนหนาต้นอวบสมบูรณ์เครือใหญ่หวีดก

การปลูกกล้วย
การปลูกกล้วยทุกชนิดจะมีหลักปฏิบัติที่คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะกล้วยชนิดที่ใช้รับประทานผลสุก เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และกล้วย ห อ ม การปลูกกล้วยเพียงเพื่อรับประทานเองจะใช้หลักการปฏิบัติเหมือนกับการปลูกในแปลงใหญ่เพื่อการค้า แต่จะไม่ต้องการดูแลอย่างพิถีพิถันเท่านั้น

การเตรียมเหง้าพั น ธุ์
การปลูกกล้วยนิยมปลูกด้วยเหง้า พั น ธุ์มากที่สุด ซึ่งสามารถขุดได้จากกอกล้วยต้นแม่ พั น ธุ์ โดยเลือกเห ง้ า ที่มีความสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร ด้วยการขุดเปิดหน้าดินรอบโคนต้น

แล้วใช้จอบหรือเสียม สั บ เ ห ง้ าส่วนที่เชื่อมกับต้นแม่ออก ทั้งนี้ ส่วนของต้นพั น ธุ์ ต้องประกอบด้วยส่วน หั ว กล้วยหรือเห ง้ า กล้วยที่สมบูรณ์ ห้ามมีส่วน แ ว่ ง หรือข า ด ซึ่งต้องระวังอย่างมากขณะขุด

การเตรียมดิน และหลุมปลูก
การเตรียมดิน และหลุมปลูก จะเริ่มด้วยการไถพรวนดินโดยไม่ต้องไถให้ลึกมาก และกำ จั ด วั ช พื ช พร้อมตากดินนาน 20-30 วัน แต่หากปลูกเพียงไม่กี่ต้นนั้น สามารถขุดหลุมได้ทันที ช่วงปลูกที่เหมาะสมช่วงเดือนพฤษภาคม มิถุนายน เพราะเป็นช่วงฝน

การขุดหลุมปลูกกล้วยทั่วไปจะขุดที่ระยะ 50 เซนติเมตร ทั้งด้านกว้าง ย า ว และลึก โดยมีระยะห่างระหว่างหลุมที่ 2-3 เมตร โดยวัดจากกึ่งกลางของหลุม หลังจากนั้น ให้รองก้นหลุมด้วยปุ๋ ย ค อ ก หรือ ปุ๋ ย ห มั ก อัตรา 3-5 กิโลกรัม/หลุม

ส่วนการปลูกแบบการค้ามักรอง ปุ๋ ยเพิ่ม โดยใช้สูตร 15-15-15 ประมาณ 150-200 กรัม/หลุม พร้อมเกลี่ยดินคลุกผสมให้เข้ากัน พร้อมปรับก้นหลุมให้มีความลึกประมาณ 25-30 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับความสูงของต้นพั น ธุ์ที่ใช้

การปลูก
การปลูกกล้วยจะนิยมปลูกจาก เ ห ง้ า พั น ธุ์ ที่ขุดได้จากต้นแม่ โดยเลือกเหง้าที่ความสูงประมาณ 30-50 เซนติเมตร โดยการวางต้น พั น ธุ์ ไว้กลางหลุม

และให้หันบริเวณที่มีรอย แ ผ ล จากการตั ด ออกจากต้นแม่หันไปทางทิศตะวันตก เพราะกล้วยจะ แ ท งปลี และห้อยเครือในทิศตรงข้ามกับรอย แ ผ ล ที่ตั ด จากกล้วยต้นแม่เสมอ หลังจากนั้น

เกลี่ยดินกลบให้แน่น พร้อมวางฟางข้าวหรือเศษใบไม้ปิดคลุมหลุมอีกครั้ง ช่วงแรกปลูกให้รดน้ำอาทิตย์ 2 -3 ครั้ง แล้วค่อยงดเรื่อยๆ จนเหลือเดือนละ 2 ครั้ง

การใส่ ปุ๋ ย
ให้ใส่ ปุ๋ ย ค อ ก รวมถึง ปุ๋ ย ห มั ก อัตรา 3-5 กิโลกรัม/หลุม โดยแบ่งใส่ปีละ 4 ครั้ง แต่หากเป็นการปลูกเพื่อรับประทานเองอาจใส่เพียงครั้งเดียว/ปี หรือไม่ใส่เลย

ปุ๋ ย หากเป็นการปลูกเพื่อการค้าในแปลงใหญ่ ให้ใส่ 2 ครั้ง หลังการปลูกในเดือนที่ 1 และ 3 ให้ใช้ปุ๋ ย สูตร 15-15-15 อัตรา 1-2 กำ/ต้น และในเดือนที่ 5 และ 7 ให้ใส่อีกครั้ง

โดยใช้ ปุ๋ ย สูตร 12-12-24 ในอัตราเดียวกัน โดยหว่านโรยห่างจากโค้นต้นประมาณ 30 เซนติเมตร พร้อมกลบดินทุกครั้ง ส่วนการปลูกเพียงไม่กี่ต้นเพื่อรับประทานเองอาจไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้ รดน้ำอย่างสม่ำเสมอ เดือนละ 2 ครั้ง

การเก็บเกี่ยว
กล้วยที่ให้ผลทั่วไปมักจะตกปลีภายใน 7-10 เดือน หลังการปลูก ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน และชนิดของกล้วย ซึ่งปลีจะบานจนหมดใช้เวลาประมาณ 10-14 วัน ซึ่งหลังจากนี้จะค่อย ตั ด ปลีได้

การ ตั ด ป ลีจะ ตั ด หลังจากเริ่มสังเกตเห็นหวีกล้วยที่มีลักษณะผลของหวีไม่สม่ำเสมอกัน ผลมีขนาดเล็ก และติดผลน้อย ส่วนหวีด้านบนจะมีขนาดผลสม่ำเสมอกัน และมีขนาดผลใหญ่กว่า

จำนวนผลมากกกว่า ซึ่งเรียกหวีนี้ว่า หวีตีนเต่า ทั้งนี้ การ ตั ด จะ ตั ด หวีใต้หวีตีนเต่าออก เพื่อไม่ให้ปลีบานต่อ เพราะหากปล่อยให้ปลีบานต่อหรือปล่อยปลีจนแห้งจะทำให้ผลในหวีด้านบนใหญ่ช้า และขนาดผลไม่สม่ำเสมอ

การเก็บเกี่ยว โดยทั่วไปกล้วยจะเริ่มการเก็บเกี่ยวได้ประมาณ 50 -65 วัน หลังการตั ด ปลี ขึ้นกับ พั น ธุ์กล้วยแต่ละชนิด เช่น กล้วยไข่จะเริ่มเก็บเครือได้หลังการตั ด ปลี 45-55 วัน

หลักพิจารณาอายุการเก็บกล้วย
นับวันหลังจากการ แ ท ง ช่อดอก เช่น กล้วยไข่จะเก็บผลได้ประมาณ 60-65 วัน หลังการ ตั ด ปลี

นับวันหลังการเห็นหวีตีนเต่า โดยปกติจะอยู่ประมาณ 50-70 วัน

ดูลักษณะเหลี่ยมของผล เช่น กล้วยน้ำว้าที่พร้อมตั ด ผลจะไม่มีเหลี่ยม ส่วนผลดิบที่ยังไม่พร้อม ตั ด จะมีเหลี่ยม

ดูลักษณะแห้งของขอบใบธง หากกล้วยพร้อมตั ด เครือ ใบกระธงจะเริ่มเหลลือง และเหี่ยวแห้ง

ดูลักษณะของสีผล โดยกล้วยทั่วไปเมื่อใกล้สุก ผลจะเริ่มมีสีเหลือง

Share this...
Share on google
Google
Share on facebook
Facebook
Share on print
Print

Add a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

40 + = 44