เกษตร

วิธีปลูกมะปรางไว้ทานขนาดต้นเดียวผลดกจนเก็บไม่ทัน

By jo-workman

March 05, 2023

วิธีปลูกมะปรางไว้ทานขนาดต้นเดียวผลดกจนเก็บไม่ทัน

การเตรียมดินและการปลูกมะปราง การขุดหลุม หลังจากเตรียมพื้นที่เรียบน้อยแล้ว ให้ขุดหลุมกว้าง 75 เซนติเมตร ลึก 100 เซนติเมตร อย่างน้อยสุด 50 เซนติเมตร (1 ศอก) แยกดินเป็น 2 ส่วน ชั้นบนและชั้นล่าง ตากดินไว้ 15-20 วัน จากนั้นนำปุ๋ ย หมักหรือปุ๋ ย ค อ กมาใส่ในหลุม ๆ ละ 2-3 ปี๊บ ผสมให้เข้ากัน

ระยะปลูก ในพื้นที่ราบหรือที่ดอน ควรใช้ระยะห่างระหว่างต้น 8 เมตร ระหว่างแถว 8 เมตร หรือปลูกแถวชิดระยะ 4 เมตร และแถว 4 เมตร พื้นที่ 1 ไร่ ระยะ 8X8 เมตร จะปลูกมะปรางได้ 25 ต้น ระยะชิด 4X4 เมตร จะต้องใช้ต้นพั น ธุ์ 50 ต้นต่อไร่ ส่วนการปลูกสวนยกร่อง ควรใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 6 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร ปลูกแถวเดี่ยวใน 1 ไร่ปลูกได้ 45 ต้น

การเตรียมต้นพั น ธุ์ ต้นพั น ธุ์ควรมีลักษณะแข็งแรง สมบูรณ์ และมีการชำอยู่ในถุงพลาสติกสีดำ หรืออยู่ในวัสดุเพาะชำอย่างน้อย 2-3 เดือน

การปลูก ฤดูที่เหมาะสมที่สุดในการปลูกมะปรางควรปลูกต้นฤดูฝน ส่วนเวลาปลูกนั้น ควรปลูกในตอนเช้าหรือตอนเย็น ซึ่งเป็นช่วงที่อากาศไม่ร้อน วิธีปลูกให้นำกิ่งต้นพั น ธ์วางปากหลุม ถ้าเป็นกิ่งทาบควรใช้มี ด ก รี ดพลาสติกที่พันโคนต้นออก แต่ถ้าเป็นกิ่งพั น ธุ์ที่ชำอยู่ในถุงพลาสติกสีดำ ใช้มีดกรีดด้านข้างก้นถุงโดยรอบ ก้นถุงพลาสติกจะหลุดออก

ต่อจากนั้นยกต้นมะปรางไปปลูกลงหลุม กลบดินลงหลุมเล็กน้อย แล้วดึงถุงดำที่เหลือขึ้นมา ใช้มี ด ตั ด ออก กลบดินปลูกลงหลุมให้สูงกว่าระดับเดิมเล็กน้อย ใช้มือกดรอบ ๆ โคนต้นให้แน่น นำหลักไม้ไผ่มาปักโคนต้น ผูกต้นมะปรางกับหลักเพื่อกันลมโยก หลังจากนั้นรดน้ำอย่างสม่ำเสมอ (นรินทร์,2537)

การปฏิบัติดูแลรักษาต้นมะปราง ในการปลูกมะปรางเพื่อการค้า ผู้ปลุกควรปฏิบัติดูแลรักษามะปรางดังต่อไปนี้

การให้น้ำ โดยปกติมะปรางเป็นไม้ผลที่ค่อนข้างทนทานต่อความแห้งแล้ง แต่ถ้ามะปรางขาดน้ำก็จะไม่มีการแตกยอดใหม่ ทำให้มะปรางชะงักการเจริญเติบโต ดังนั้นมะปรางจึงมีความจำเป็นในการใช้น้ำ

ในระยะแรกปลูก 2-3 เดือน ควรมีการให้น้ำให้ชุ่มอยู่เสมอเฉลี่ย 3-5 วันต่อครั้ง อายุ 3-6 เดือน ให้น้ำ 7-10 วันต่อครั้ง เว้นแต่ช่วงฝนตกงดการให้น้ำมะปรางที่อายุ 1 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะช่วงฤดูแล้ง ควรมีการรดน้ำ 15-20 วันต่อครั้ง (นรินทร์,2537)

ประเภทของน้ำที่ใช้กับต้นมะปรางนั้น น้ำที่ได้มาจากแม่น้ำ, ลำคลอง, หนอง, บึง เมื่อนำมารดจะได้ประโยชน์มากกว่าน้ำบาดาล เพราะมีแร่ธาตุอาหารปนมาด้วย โดยปกติแล้วน้ำที่จะนำมารดให้กับต้นมะปราง ควรมีค่า pH 6.5-7.0 กล่าวคือควรมีสภาพเป็นกลาง (ทวีศักดิ์,2537)

การใส่ปุ๋ ย มะปรางขึ้นได้ในดินหลายชนิดทั้งดินเหนียว ดินร่วน และดินร่วนปนทราย ถ้าปลูกมะปรางในแหล่งอุดมสมบูรณ์สูง มีธาตุอาหารอย่างพอเพียง ต้นมะปรางจะเจริญได้ดี ปัจจุบันแหล่งดินที่อุดมสมบูรณ์หาย า ก วิธีที่จะปรับปรุงคุณภาพของดินคือการใส่ปุ๋ ยบำรุงดิน (นรินทร์,2537)

ระยะพื ช กำลังเจริญเติบโต ควรใช้ปุ๋ ยที่มี N-P-K ในสัดส่วน 1:1:1 เช่นปุ๋ ย เกรด 15-15-15 เพื่อเสริมสร้างและทดแทนส่วนที่พื ชนำไปใช้ในการแตกยอด ใบ กิ่งก้าน

ระยะใกล้ออกด อ ก ควรใช้ปุ๋ ย ที่มีสัดส่วนของฟอสฟอรัสสูง เช่นปุ๋ ยเกรด 8-24-24

ระยะที่พื ช ติดผลแล้ว ให้ใช้ปุ๋ ยที่มีธาตุโปแตสเซียม เช่นปุ๋ ยเกรด 13-13-21 หรือ 12-17-2 เพื่อเพิ่มคุณภาพผลผลิต (ฐานเกษตรกรรม,2538)

การพรวนดินและคลุมโคนต้น ควรหาฟางข้าวหรือเศษหญ้ามาคลุมบริเวณโคนต้นที่ทำการพรวนดินเพื่อรักษาความชื้น การพรวนดินรอบ ๆ โคนต้นควรทำทุกปี ปีละ 3 ครั้ง คือช่วงต้นฝน ปลายฤดูฝน(ต้นฤดูหนาว) และฤดูร้อน ถ้าเป็นไปได้การพรวนดินและคลุมโคนต้นนั้นควรทำพร้อม ๆ กันกับการใส่ปุ๋ ย

การพรางแสง มะปรางขึ้นได้ทั้งในที่มีแดดรำไรและในแสงแดดจ้า แต่การปลูกในที่พรางแสง จะมีการเจริญเติบโตได้ดีกว่าการปลุกกลางแจ้ง ฉะนั้นการสร้างสวนมะปรางเพื่อการค้า ในระยะ 1-3 ปีแรก ควรมีการปลุกกล้วยเป็นพื ช แซม

การตั ดแต่งกิ่ง ควรมีการตั ด แต่งกิ่งมะปราง กิ่งที่หั ก กิ่ หรือกิ่งที่แห้งออกทุกปีด้วย

การตั ดแต่งผล มะปรางที่มีการออกด อ กเป็นช่อย า ว  8-15 เซนติเมตร ในช่อหนึ่งอาจติดผลตั้งแต่ 1-5 ผล ควรมีการ ตั ด  แต่งผลมะปรางที่มากเกินไปออก เหลือช่อละ 1 ผล

การเก็บเกี่ยว ในการเก็บเกี่ยวมะปรางแต่ละครั้ง ไม่ว่าผลแก่หรือผลอ่อน ควรเก็บเกี่ยวด้วยความระมัดระวัง ถ้าไม่ระวังผลมะปรางอาจจะกระทบกระเทือน ผลจะช้ำ

วิธีการเก็บเกี่ยวผลผลิตมะปราง ถ้าต้นไม่สูงควรใช้กระดาษตั ด เป็นฝอยปูรองก้นตะกร้าใส่มะปราง แล้วใช้กรรไกรตั ดขั้วผล นำมะปรางมาใส่ ถ้าต้นสูงเกินไป ควรใช้บันไดปีน หรือใช้ตะกร้อสอยมะปราง เมื่อเก็บเกี่ยวเสร็จควรนำไปไว้ในที่ร่ม